Sunday, October 24, 2010

แหล่งซื้อ บ้านมือสอง

แหล่งซื้อ บ้านมือสอง

ซื้อ บ้านมือสอง ผ่าน นายหน้าขายบ้าน
           ซื้อ บ้านมือสอง  ผ่านนายหน้าท่านจะได้รับการบริการเหนือกว่าการซื้อผ่านสถาบันอื่น ๆ  เช่น
 1. ความหลากหลายในรูปแบบของบ้าน  ทั้ง บ้านเดี่ยว  ทาวน์เฮาส์  คอนโดมิเนียม ฯลฯ
 2. เลือกหาบ้านได้ในแทบทุกถนน  ทุกทำเล  ทั้งในเมือง  นอกเมือง
 3. ราคาเทียบเท่า  ถูกกว่าราคาที่จะหาได้ในตลาดทั่วไป
 4. ได้บ้านสภาพดี  และคุ้มราคา  เพราะนายหน้าจะมีแหล่งสินทรัพ์ย์รอขายอยู่มากมาย
 5. ได้รับคำแนะนำ  ช่วยเหลือทั้งเรื่องของความคุ้มค่าในการซื้อ  เอกสาร  การเงิน  การโอน  โดยไม่ต้องเสียค่า    บริการใด ฯลฯ
 
     และเมื่อท่านได้ข้อสรุปแล้วว่าจะใช้บริการของ นายหน้าขายบ้าน  ท่านก็ควรรู้ว่า  นายหน้าในเมืองไทยนั้น มีหลายระดับ  ท่านจึงต้องใส่ใจเลือกกันนิดหน่อยว่า  ควรเป็นนายหน้าระดับไหน ท่านควรเลือก นายหน้าขายบ้านสังกัดบริษัท ที่มีมาตรฐาน เดี๋ยวนี้  เขามี สมาคมตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์  คอยกำกับ ดูแลสมาชิกที่เป็นบริษัทตัวแทนนายหน้าขายบ้านกว่า 100 ราย  ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางที่ท่านสามารถใช้บริการในสังกัดสมาคมฯ ได้อย่างสบายใจ  ติดขัดสิ่งใด  ท่านยังสามารถร้องเรียนไปที่สมาคมฯได้
    ไม่ช้าไม่นาน  ท่านก็จะได้รับข้อมูลของบ้านหลายหลัง  ในทำเลที่มองหา  ท่านเลือกและขอให้นายหน้าพาไปดู  สำรวจบ้านทุกหลัง  เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของบ้านแต่ละหลัง   เมื่อท่านเลือกบ้านได้ถูกใจแล้ว    ก็ต้องมีการเจรจา  ต่อรอง  เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด(สำหรับท่าน)  โดยท่านจะต่อรองเอง ห รือให้มืออาชีพ(ก็นายหน้านั้นละ)  ช่วยจัดการให้ก็ไม่เสียหาย
        ขั้นต่อมา  เป็นเรื่องที่ท่านต้องสำรวจตัวเอง  ว่าท่านตั้งใจที่จะซื้อเป็นเงินสดหรือจะซื้อผ่อนกับสถาบันการเงิน(ธนาคาร)  ถ้าเป็นเงินผ่อน  นายหน้าอาชีพจะแนะนำหรือช่วยเหลือเรื่องการขอวงเงินให้ท่าน
         จากนั้น   นายหน้า(มืออาชีพ)  ก็จะจัดเตรียมเอกสารการโอนทรัพย์  และนัดหมายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ตั้งแต่ตัวผู้ขาย(เจ้าของบ้าน)  พร้อมคู่สมรส(ถ้ามือ) ธนาคารของท่านและของผู้ขาย ฯลฯ  ไปทำการโอนบ้าน(หรือทรัพย์สินอื่น ๆ  ที่ซื้อขายกัน)  ที่กรมที่ดิน  ชำระค่าธรรมเนียมโอน  ค่าภาษีอากร  (และอื่น ๆ)  แล้วก็เสร็จพิธี  ท่านก็รับโฉนด(ตัวจริง)  กลับบ้าน(ใหม่)ได้
 ซื้อ บ้านมือสอง จากสถาบันการเงิน
   ทรัพย์สินของสถาบันการเงินต่าง ๆ  มีมากมายให้ท่านเลือกแต่ทรัพย์าสินที่ว่านั้นท่านต้องเลือกดี ๆ  ทำเล  ราคา  สภาพของบ้านดีไหม  หรือมีคนอยู่ในบ้าน(ไล่แล้วไม่ยอมไป)เป็นต้น
 เมื่อท่านเริ่มสนใจทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งต้องไปดูแลก่อนทุกครั้งไม่ต้องรีบตัดสินใจโดยให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินนั้น ๆ  พาไปชมทรัพย์  อย่าลืมสำรวจบ้านให้ละเอียดตามแบบสำรวจที่ให้มา

 ทรัพย์สินของสถาบันการเงิน  ส่วนใหญ่จะต้องมีการซ่อมแซม  ดังนั้นหากจะตัดสินใจซื้อควรนำผู้รับเหมาไปด้วยเพื่อประมาณราคาซ่อมแซม  แล้วค่อยตัดสินใจ  ราคาเมื่อซื้อไปแล้วเป็นราคาตลาดหรือเปล่า  แพงหรือถูกหรือเปล่า  เพื่อให้แน่ใจว่าราคาตรงกับราคาตลาดไหม  วิธีง่าย ๆ  เช็คจากบริษัทนายหน้า  บริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน  สื่อต่าง ๆ   และเว็บไซต์ ต่างๆ 
 ในกรณีเป็นที่ดินเปล่า  ให้เช็คถนนว่าเป็นถนนสาธารณะหรือเปล่า  ถ้าไม่ระบุในโฉนด  ให้ประเมินไว้ก่อนว่าที่ดินนั้นตาบอดหรือไม่  วิธีการตรวจสอบให้ไปกรมที่ดินนั้น ๆ  แล้วถ่ายแผนระวางจากนั้นเจ้าหน้าที่ดินจะช่วยตรวจสอบให้  หรือสำนักเขตในพื้นที่นั้น ๆ
   ปัญหาของราคาที่เสนอซื้อจากสถาบันการเงิน  ราคาคาอาจจะไม่ค่อยลงกันซักเท่าไร  แต่ก็นั้นละสถาบันการเงินก็มีต้นทุนเช่นกัน  อย่าไปต่อเขามาก  ให้ประเมินจากความต้องการของท่านดีกว่าถึงแม้ว่ามันจะแพงไปนิด
ซื้อ บ้านมือสอง จากบุคคลที่เป็น NPLหรือบุคคลทั่วไป(NPL=บุคคลที่มีปัญหาหนี้ค้างชำระกับธนาคาร)
      ในกรณีนี้ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง  แล้วจะรู้ได้อย่างไร  อาจจะดูยากนิดนึง  เพราะบุคคลเหล่านี้จะไม่ยอมบอกแม้กระทั้งนายหน้ามืออาชีพก็ไม่รู้  จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการอายัดทรัพย์  ณ สำนักงานที่ดิน  (มีใบแดง/ใบอายัดทรัพย์แนบในเอกสารสำนักงานที่ดิน)

      ในกรณีนี้นายหน้าขายบ้านอาชีพ  จะทำตัวเป็นนักสืบโดยหาคำตอบให้ได้ว่าเป็นหนี้ธนาคารเท่าไหร่  ไถ่ถอนให้ธนาคารแล้วเหลือเท่าไหร่  (เรื่องนี้สำคัญ)  ที่พูดถึงกรณีนี้เคยมีปัญหามาแล้ว  ผู้ขายเป็น NPL รับเงินมัดจำจะซื้อแล้วให้ทำดังนี้
 1.  เช็คยอดที่จะต้องไถ่ถอนจำนองที่จดจำนองหรือฝากขาย  ให้ทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายธนาคารระบุชื่อธนาคารที่จดจำนองนั้นเลย
 2.  ให้ธนาคารออกใบยืนยันยอดชำระที่จะต้องชำระค่าไถ่ถอน(ทำได้)
 3.  วางมัดจำไม่ต้องมากโดยขอความร่วมมือจากผู้ขายติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารคนไหน  อย่างไร
 4.  ผู้ซื้อตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตัวเอง
 5.  ไปโอนและไม่ต้องวางเงินมัดจำ
  บุคคลทั่วไปที่ไม่เป็น NPL
 ในกรณีที่ผู้ขายอาจจะจดจำนองธนาคารอยู่หรือไม่เป็นหนี้ใคร เป็นเรื่องปกติบ้านขายโดยทั่วไปส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ธนาคารกันทั้งนั้น  วิธีการอาจจะใช้วิธีเดียวกับข้างบน  แต่ขอเตือนการำทำสัญญาจะซื้อขายให้ทำกับเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น  ถ้าหากมีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นญาติ, ลูกหลานหรือป็นอะไรก็แล้วแต่  ขอดูใบมอบอำนาจก่อน  แล้วจะรู้ได้อย่างไร
 1.  ดูจากสารบัญโฉนดทีดินจะระบุเจ้าของกรรมสิทธิ์ชัดเจน
 2.  ดูจากหนังสือสัญญาขายที่ดินจะมีลายเซ็นอยู่ก็เอามาเปรียบเทียบ  แต่หากว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้คนอื่นมาเมื่อครั้งก่อนก็จะมีลายเซ็นเขา
 3.  บัตรประชาชน + ทะเบียนบ้านตรงกับใบมอบหรือเปล่า
 4.  ทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าของกรรมสิทธิ์  ห้ามจ่ายเป็นเงินสด  หรือสั่งจ่ายให้บุคคลอื่นเด็ดขาด
ซื้อ บ้านมือสอง จากกรมบังคับคดี
 บ้านมือสอง จาก กรมบังคับคดี มีมากจริง ๆ  เลือกดี ๆ  และค่อย ๆ  เลือกเพราะว่าส่วนใหญ่ทรัพย์ต้องซ่อมแซมกันพอสมควร  แถมต้องไปดูทรัพย์ใช้แผนที่ของกรมบังคับคดีในกรณีบ้านหมู่บ้านหาไม่ค่อยยากเท่าไร  ถ้าเป็นที่ดินและก้อ โอโฮ้.........  แต่ก็ไม่ใช่ทุกแปลง
 ทรัพย์ของกรมบังคับคดีจะระบุเลขที่โฉนดชัดเจน  ทิศไหนติดที่ดินแปลงไหนถ้าหาไม่เจอเจ้าหน้าที่ที่ดินช่วยคุณได้

       ข้อดีและดีมาก ๆ  คือทรัพย์ของกรมบังคับราคาถูกหากไม่มีใครขึ้นราคา  การซื้อทรัพย์ของกรมบังคับคดี  "ต้องดูของจริงมินฉะนั้นท่านจะเสียใจ"
      ข้อควรระวังในการซื้อทรัพย์  ในกรณี  คอนโดมิเนียม  เห็นว่าราคาถูกเลยตามไปซื้อหารู้ไม่ว่าค้างค่าส่วนกลางบ้าน  การซื้อคอนโดมิเนียมทางกรมบังคับคดีจะไม่แจ้งตัวเลขค้างชำระค่าส่วนกลาง  ณ  วันโอนกรรมสิทธิ์  แต่ปัจจุบันบางครั้งเขาก็จะแจ้งนะ  ไม่รู้แล้วแต่อารมณ์หรือเปล่า  ว่าไปแล้วไม่ใช่หน้าที่ของเขา  กลับว่าเป็นหน้าที่ของเราต่างหากที่ต้องตรวจสอบ
 กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานราชการ  ที่ใครต้องการประมูลทรัพย์ของเขา  ไปอ่านกฎระเบียบให้ดีก่อน  ก่อนลงมือ  โดยสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์  
www.led.go.th  โทร. 02-881-4999
ที่มา:บ้านมือสอง  ธนาคารอาคารสงเคราะห์


0 comments:

Post a Comment

Twitter Delicious Facebook Digg Favorites More